แม่แรง ?
แม่แรง/SERVICEJACK
เทคโนโลยีตอบสนองการต้องการความสะดวกสบาย เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆถูกพัฒนาเพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพรวดเร็ว การดำรงชีวิตแต่ละวันต้องอาศัยยานพาหนะ การบำรุงรักษา ซ่อมแซมจุดที่เสียหาย เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ถอดล้อเปลี่ยนยาง.. การยกให้สูงจากพื้นต้องอาศัยอุปกรณ์เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทำได้ง่ายไม่เกิดอันตราย เพื่อป้องกันปัญหาเหล่านั้น สิ่งอำนวยความสะดวกที่จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น :
แม่แรง คืออะไร หน้าที่และประโยชน์คืออะไร แม่แรงคือเครื่องมือสำหรับยกดันดึงงัดวัตถุที่มีน้ำหนักมากๆเช่นรถยนต์ เครื่องจักร สินค้าต่างๆ ใช้หลักการทำงานด้วยคานเกลียวหรือแรงดันจากน้ำมัน หน้าที่หลักคือเพิ่มแรงการยกเพื่อทำการซ่อมบำรุงส่วนต่างๆไม่ว่าจะเป็นล้อหรือช่วงล่าง เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่รถยนต์ใหม่จะมีมาให้ทุกคัน จึงนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ
สมัยโบราณจะเอาไม้มาขัดตัดตกแต่งเป็นเกลียวท่อจากนั้นจึงมาประกอบกันเป็นเฟืองหมุนยกให้สูงขึ้น ช่วยผ่อนแรง ลดระยะเวลาการทำงาน เพื่อให้เหมาะสมกับงานประเภทนั้นๆ ปัจจุบันแม่แรงจะแตกต่างจากอดีตอย่างมาก แบ่งเป็น2ประเภทใหญ่ คือ :
แม่แรงระบบไฮดรอลิค ใช้น้ำมันไฮดรอลิคช่วยขับแรงดันลูกสูบ สามารถยกรองรับน้ำหนักได้เยอะ ใช้งานง่าย ทำงานได้รวดเร็ว มีหลายชนิดหลายรูปแบบ ปัจจุบันจำนวนลูกสูบมากขึ้น ทำให้ตอนยกจะเบาและเร็วกว่ารุ่นก่อน30-50% แต่ระบบนี้ก็มีข้อบกพร่องของยางโอริงภายในที่อาจจะทนแรงเสียดสีไม่ไหวทำให้ชำรุดเร็วกว่ากำหนดทำให้น้ำมันรั่วซึม ยกไม่เสถียร สาเหตุส่วนมากเกิดจากการใช้งานแม่แรงใกล้เคียงหรือเกินข้อจำกัดการรับน้ำหนัก หรือโยกด้ามแม่แรงเร็วเกินไปจนน้ำมันไฮดรอลิคไหลไปหล่อเลี้ยงระบบภายในไม่ทัน พื้นที่ยกแม่แรงไม่สม่ำเสมอขรุขระไม่สะอาดเศษหินดินทรายไปเกาะที่บริเวณปากกระบอกลูกสูบจนทำให้แกนกระบอกสูบเป็นรอยขีดข่วนชำรุด
แม่แรงระบบกลไก เป็นระบบเฟือง หมุนเพื่อยกน้ำหนัก ดูแลรักษาง่าย พกพาสะดวก ตัวไม่ใหญ่ข้อดีคือไม่ต้องดูแลมาก ข้อเสียคือรับน้ำหนักได้น้อย ใช้งานยากกว่าระบบไฮดรอลิค ต้องใช้แรงมากในการยกน้ำหนัก บางครั้งเหงื่อท่วมตัวทีเดียว บางรุ่นใช้ระบบไฟฟ้าช่วยขับเฟืองให้เร็วขึ้นแต่ความทนทานหรืออายุการใช้งานไม่มาก
การเลือกซื้อแม่แรง รถยนต์ เครื่องจักร อุตสาหกรรมพัฒนาตลอดเวลา แม่แรงตะเข้ แม่แรงกระปุก แม่แรงยกเกียร์ แม่แรงยกเครื่องจักร แม่แรงยกบ้าน เครนยกเครื่อง.. ก็พัฒนาต่อเนื่องหลายประเภทเพื่อสร้างความสะดวก ใช้ลม ใช้ไฟฟ้า ใช้มือโยก รุ่นงานเบา-งานหนัก (ดูเพิ่มเติมที่สินค้าแม่แรงทุกชนิด) สังเกตรถยนต์ที่จะยกหรือจุดที่จะยกนั้นมิติสูงต่ำเท่าใหร่ ถ้าเอาแม่แรงตัวต่ำไปยกรถสูงก๊ไม่ได้ รถสูงจะเอาแม่แรงตัวเล๊กไปยกก็ไม่ได้ แม่แรงตัวเตี้ยจะเหมาะกับรถเตี้ย-รถปกติ แม่แรงอลูมิเนียมสวยงามน้ำหนักเบาเหมาะกับบ้านหรือสนามแข่งรถ เน้นติดรถใช้แม่แรงตัวเล๊ก ต้องการDIYเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องหรือเป็นอู่รถแม่แรงตัวใหญ่จะเหมาะกว่า ซื้อตัวที่ดูมาตรฐานแข๊งแรงรับน้ำหนักเยอะกว่ารถหรือสินค้าที่จะยก ตอนใช้งานจะเบาแรงไม่โอเว่อโหลด แม่แรงใหม่ใช้งานได้ทันทีไม่ต้องดูแลหรือเติมน้ำมันเพียงแต่ใช้ให้ถูกวิธีอายุการใช้งานจะนาน การหาใช้ให้เหมาะสมนอกจากจะตรงต่อความต้องการยังประหยัดและปลอดภัย
จุดยกแม่แรงหรือตำแหน่งยกแม่แรง
รถยนต์ทุกคันจะมีการเว้าเป็นรูปครึ่งวงกลมเสริมความแข็งแรงเพื่อรับน้ำหนักไว้ที่แชสซีส์ฝั่งละ 2 จุด ก่อนยกแม่แรง ต้องดึงเบรกมือค้างไว้ทุกครั้ง
กรณียกทีละ 1 ล้อ
-ยกล้อหน้า จุดยกจะอยู่ตรงรอยเบ้า หลังล้อหน้าเล็กน้อย
-ยกล้อหลัง จุดยกจะอยู่ตรงรอยเบ้า หน้าของล้อหลังเล็กน้อย (หรือเบ้าโช๊ค)
กรณียกทีละ 2 ล้อ
-ด้านหน้า จุดยกคือกึ่งกลางเพลาหน้า
-ด้านหลัง จุดยกคือกึ่งกลางเพลาหลัง
จัดแม่แรงให้ตรงตำแหน่ง ทำการโยกแม่แรงจนรถลอยขึ้น ป้องกันรถเป็นรอยถลอกใช้เศษผ้าหรือชิ้นยางวางทับเบ้ายกแม่แรง อย่าลืมหาก้อนอิฐท่อนไม้..หนุนล้อกันรถไหล กรณียกค้างหรือทำงานใต้ท้องรถต้องเอาขาตั้งค้ำช่วยรับน้ำหนักเพื่อป้องกันอีกครั้ง
วิธีการใช้งานแม่แรง
1) หมุนด้ามปิดวาล์วไปตามเข็มนาฬิกาให้แน่น
2) วางแม่แรงให้ตรงไม่โยกเอียง ใกล้ตำแหน่งที่จะยก
3) พื้นที่ใช้งานเป็นพื้นปูนหรือแข็งแรง ไม่ลาดเอียงอ่อนนิ่ม (สาเหตุแม่แรงยุบเคลื่อนตำแหน่งบิดเบี้ยว)
4) หลีกเลี่ยงพื้นหิน-ดิน-ทราย(ป้องกันการยุบและเศษหินดินทรายกระเด็นเข้ากระบอกลูกสูบ)
5) โยกด้ามแม่แรงขึ้นลงช้าๆไม่เร็วเกินไป เพื่อให้น้ำมันหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆภายในเต็มระบบ ทำให้อายุการใช้งานนานขึ้น
6) ตอนโยกให้ด้ามแม่แรงอยู่ประมาณ45องศา ป้องกันแกนปั้มไปงัดลูกสูบทำให้แกนปั้ม/ลูกสูบคดเอียง
7) ห้ามใช้ยกรถที่น้ำหนักเกินจากที่กำหนด
8) หลังจากยกขึ้นแล้ว เพื่อความปลอดภัยต้องใช้ตัวขาตั้งหรือตัวค้ำรถวางค้ำป้องกันทุกครั้ง
9) ตอนปล่อยแม่แรง บิดปิดวาล์วทวนเข็มนาฬิกาแบบช้าๆ รถจะได้ไม่ร่วงกระแทกพื้น
การบำรุงรักษาแม่แรง
1) เก็บหรือวางในที่แห้งไม่ตากฝนหรือเปียก
2) เติมหรือทาน้ำมันหล่อลื่นหรือจาระบีตามส่วนต่างๆสม่ำเสมอ
3) เก็บไว้นานๆ ถอดจุกฟิลเลอร์เช็คดูระดับน้ำมัน ถ้าเห็นว่าเหลือน้อยให้เติมน้ำมันไฮดรอลิคเบอร์68พอประมาณ(ห้ามเติมจนเต็ม)
*ข้อแน๊ะนำ : ตรวจเช็คทำความสะอาดบำรุงรักษาส่วนต่างๆของแม่แรงปีละ2-3ครั้ง กรณีแม่แรงยกไม่ขึ้นไหลลงแต่ไม่รั่วซึม อาจเกิดจากใช้งานสมบุกสมบันทำให้ลูกปืนภายในรังวาล์วเคลื่อนผิดตำแหน่ง แก้ไขโดยการไล่ลม!! ถ้าไม่หายติดต่อร้านที่จำหน่ายและซ่อมแม่แรงโดยตรง
จะเห็นว่าการมีแม่แรงไว้ช่วยงานและการดูแลนั้นไม่ยาก อุบัติเหตุทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้น การไม่ประมาทการเตรียมพร้อมเป็นสิ่งสำคัญ แม่แรงบางตัวมีกล่องใส่น้ำหนักน้อยพกติดรถสะดวกผู้หญิงใช้ง่ายๆสบายๆ ตระหนักถึงร้านที่จำหน่ายบางแห่งเน้นแต่ขายสินค้ามีปัญหาไม่มีช่างแตกต่างกับร้านที่ชำนาญช่างมีประจำร้านเร่งด่วนรอรับทันที บริการหลังการขายย่อมดีกว่า ความคุ้มค่าคืออะไร? คุณตัดสินใจ!
ร้านแม่แรง 02-3984500
22/8/2560